วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ส่งงานการถ่ายรูปสินค้า








            


ภาพ :  สร้อยข้อมือไม้

โดย : นางสาวฐิติมา  มาลิกัน

ชั้น ม. 6/1  เลขที่ 26  โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์  จังหวัดสตูล

























































































วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560

เคล็ดลับการบูทสมองและฟื้นความจำแบบง่าย ๆ ที่ทำได้แค่เพียงหลับตา






       เชื่อว่าหลายคน..คงเคยเจอกับสถานการณ์ที่ว่าเวลาที่นึกถึงเรื่องอะไรสัก อย่างแล้ว..นึกเท่าไรก็นึกไม่ออกสักที ยิ่งโดยเฉพาะเวลาคับขัน การศึกษาล่าสุดพบว่าจริง ๆ แล้วเราสามารถรื้อฟื้นความจำบางส่วนได้แค่เพียงหลับตาเท่านั้น นักวิจัยมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ของอังกฤษ พบเคล็ดเมื่อตอนคนเรานึกอะไรไม่ออกว่าให้ลองหลับตาสักพักหนึ่ง จะทำให้นึกออกได้เกือบ ถูกหมด
       และนักวิทยาศาสตร์ได้พบในการทดสอบกับอาสาสมัคร โดยพยายามจะค้นหาวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้พยานบุคคลในเหตุ อาชญากรรมสามารถจดจำรายละเอียดเมื่อให้การกับตำรวจ และได้พบว่าอาสาสมัครคนที่หลับตาอยู่แทบตลอดเวลา เมื่อถูกถามไถ่กลับเล่ารายละเอียดได้ดี ตอบคำถาม 17 ข้อได้มากถึง 3 ใน 4 ในขณะที่คนอื่นๆซึ่งไม่ได้หลับตาลงเลย คงลืมตาตามปกติ กลับตอบคำถามถูกแค่ร้อยละ 41 เท่านั้น
      นอกจากนี้การปิดตายังช่วยทำให้คนเราสามารถจินตนาการถึงสิ่งที่กำลังพยายาม นึกถึงภายในสมองขึ้นมาได้ โดยที่คุณไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์ใด ๆ เนื่องจากจะไม่มีภาพจากประสาทการมองเห็นเข้ามารบกวนภาพที่ถูกบันทึกเอาไว้ใน ความทรงจำได้

     ขณะที่ดอกเตอร์ Robert Nash หัวหน้าทีมวิจัยและอาจารย์สาขาจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแอสตัน (Aston University)ได้วิเคราะห์ว่า การปิดตาจะช่วยปิดกั้นการรับรู้ของสมองบางส่วน ทำให้สมองสามารถมุ่งเน้นไปยังสิ่งที่สำคัญในขณะนั้นได้ดี

    โดยวารสาร Legal and Criminological Psychology ได้ตีพิมพ์งานวิจัยชิ้นหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักรที่ได้ทำการวิจัยเกี่ยว กับความทรงจำ โดยให้อาสาสมัครดูภาพยนตร์สั้น เมื่อดูจบก็ให้ตอบคำถามพร้อมอธิบายถึงรายละเอียดของหนัง พบว่าอาสาสมัครที่หลับตาในขณะที่ตอบคำถาม ตอบถูกมากกว่าผู้ที่ลืมตาในขณะที่ตอบคำถามถึง 23% ซึ่งทีมนักวิจัยได้สรุปว่า การที่เราตัดสิ่งรบกวนรอบข้างออก จะช่วยทำให้เราสามารถรื้อฟื้นความทรงจำได้มากขึ้น
พวกเขาได้สรุปความรู้ว่า  การหลับตามีผลกระทบช่วยให้จดจำรายละเอียดถูกต้องได้แรงที่สุด รวมทั้งความรู้สึกสบายดีขณะเมื่อถูกซักถาม ก็มีส่วนอยู่ด้วยเหมือนกัน ด้วยเหตุว่ามันช่วยป้องกันไม่ให้เสียสมาธิ เมื่อมีสมาธิเพียงพอ สมองก็จะทบทวนความจำได้ดีขึ้น

     นักวิจัยค้นพบว่า การทำสมาธิมีผลโดยตรงต่อโครงสร้างและการทำงานของสมอง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลัษณะที่ไปเพิ่ม attention span ทำให้มุ่งความคิดไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้มากขึ้น และทำให้ความจำดีขึ้น งาน วิจัยค้นพบว่า การทำสมาธิทุกวันจะไปเพิ่มความหนาของส่วนของสมองที่เรียกว่า cerebral cortex ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการทำการตัดสินใจ การสร้างความสนใจ และความจำ
     การเรียกคืนความทรงจำได้ด้วยการสร้างสมาธิ สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานหรือการเรียนได้เป็นอย่างดี ลองดูนะคะ เพราะการทำสมาธิจะช่วยคงความชัดเจนในสมองที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์ที่เร็วและแหลมคม

       เสริมด้วยการดูแลและบำรุงรักษาในรูปแบบอื่นๆช่วยบ้าง เช่น การบริหารสมองและสายตาแบบง่ายๆเป็นประจำ และดูแลร่างกายจากภายในด้วยการทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ และอาจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเสริมที่เกี่ยวข้องเพิ่มเข้ามาตามความเหมาะสมได้

การพักผ่อนนอนหลับที่เหมาะสม

 


การพักผ่อนนอนหลับที่เหมาะสม

        คนทุกคนต้องการการพักผ่อนนอนหลับ แต่นานแค่ไหนจึงจะพอดี พ่อแม่มือใหม่อาจสงสัยว่าจะให้เด็กทารกนอนหลับนานแค่ไหนดี กังวลว่าลูกวัยรุ่นอาจนอนไม่เพียงพอ หรือผู้สูงอายุไม่สามารถหยุดสัปหงกในระหว่างวันได้ บทความนี้จะกล่าวถึงความต้องการนอนหลับในช่วงอายุต่าง ๆ ของชีวิตเรา


   การนอนหลับที่ดี
        ระยะเวลาและชนิดของการนอนหลับที่เราต้องการเปลี่ยนไปกับอายุ อย่างไรก็ตาม อายุมิใช่เพียงปัจจัยเดียวที่เป็นตัวตัดสิน แต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกัน บางคนมากและบางคนน้อยกว่าความต้องการของคนโดยเฉลี่ย ระยะเวลาการนอนหลับอาจมีความสำคัญน้อยกว่าคุณภาพของการหลับ ความต้องการในการนอนหลับแต่ละวันก็อาจเปลี่ยนไปวันต่อวันขึ้นกับสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ ข้อมูลที่เรากำลังนำเสนอ คือ การเปลี่ยนแปลงของความต้องการนอนตลอดห้วงอายุขัยของชีวิต อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่ยังรู้สึกสดชื่นและตื่นตัวในวันรุ่งขึ้น นั่นบ่งบอกว่า ได้นอนหลับพักผ่อนเพียงพอแล้ว





คิดอย่างไร...ไม่ให้เครียด




คิดอย่างไร...ไม่ให้เครียด

       ความคิดเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้คนเราเกิดความเครียด หากรู้จักคิดให้เป็นก็จะช่วย
ให้ลดความเครียดไปได้มาก เราจึงขอนำเสนอวิธีการคิดที่เหมาะสมซึ่งจะไม่ทำให้เรา
เกิดความเครียด
โฆษณาผลงาน

          เมื่อมีโอกาสก็พยายามโฆษณาผลงานของตนเองบ้าง เพราะคนหลายคนยังไม่รู้ว่าคุณ
ทำอะไร การโฆษณาผลงานของตนเอง ก็ต้องเชื่อมั่นว่าผลงานนั้นเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป เมื่อพูดออกไปคนทั่วไปจะต้องร้องอ๋อ และชื่นชมกับผลงานนั้น เมื่อทำผลงานให้
เกิดความสำเร็จบ่อยๆเข้า คนทั่วไปก็จะเกิดความเชื่อถือในตัวคุณไปโดยปริยาย
สร้างบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ

         บุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ ทำให้คนอื่นไว้วางใจที่จะคบหา และติดต่องานด้วย ซึ่งไม่ควรมี
กิริยาวอกแวก และไม่ทำตัวตามสบายมากจนเกินไป การสร้างบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือนั้น
ให้ลองเลือกคนที่คุณเห็นในที่ทำงานไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระดับสูง เจ้านาย หรือผู้ร่วมงาน
ที่คุณเห็นว่าเขามีบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ และผู้คนส่วนใหญ่ไว้วางใจ จะเลือกคนใดคนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ได้ ให้สังเกต และจดบันทึกบุคลิกภาพในส่วนดีของเขาที่ทำให้คนอื่นเชื่อถือ แล้วนำมาปรับใช้ให้เข้ากับบุคลิกของตน
พูดและทำในสิ่งที่เป็นไปได้

         ควรพูด และทำในสิ่งที่เป็นไปได้ ไม่ว่าจะพูดหรือแนะนำอะไร สิ่งนั้นต้องสามารถเกิดขึ้น
ได้จริง และเป็นสิ่งที่คุณต้องทำสำเร็จ ถ้าคิดว่าทำ ไม่ได้ก็อย่าพูดให้คนอื่นเขาเกลียด
ขี้หน้าว่าทำไม่ได้แล้วพูดทำไม เสียเวลาเปล่าๆ เมื่อสิ่งใดที่หลุดออกจากปากของคุณ
และผ่านมือคุณออกไปเป็นสิ่งที่เกิดความสำเร็จทุกครั้งย่อมทำให้คนอื่นฟังคุณ และ
เชื่อถือคุณเกิดความมั่นในคำแนะนำ และการทำงานของคุณตลอดไป
ทำให้ผู้อื่นเชื่อในสิ่งที่คุณเชื่อ

                    สิ่งใดที่คุณเชื่อแล้วสามารถทำให้คนอื่นได้เชื่อในสิ่งเดียวกันนั้น จะทำให้คุณทำอะไร
                    ก็ง่ายขึ้น    ไม่ว่าความเชื่อนั้นจะเป็นเรื่องใดก็ตาม การทำให้คนอื่นเชื่อสิ่งเดียวกับคุณ
                    ย่อมทำให้คุณได้รับความเชื่อมั่น และศรัทธาจนเกิดความน่าเชื่อถือในที่สุด

การฟังที่ดี






ปัญหาความขัดแย้ง เป็นเรื่องธรรมดาในการอยู่ร่วมกันหรือคบค่าสมาคมกัน เพราะสังคมประกอบด้วยบุคคลหลาย ๆ รูปแบบ มาจากครอบครัวที่ต่างกัน มีพื้นฐานการเลี้ยงดูวัฒนธรรม ประเพณีการศึกษา การใช้ชีวิตตลอดจนนิสัยใจคอที่แตกต่างกัน ดังนั้น ปัญหาหรือความขัดแย้งต่าง ๆ ย่อมเกิดขึ้นอยู่ได้ตลอดเวลา เราก็อาจจะเป็นคนหนึ่งในหลายคน ที่ต้องตกเป็นผู้รับฟังการระบายปัญหาหรือการเล่าถึงความขัดแย้งกับคนอื่น ๆ จากผู้ร่วมงานจากคนใกล้ชิด จากเพื่อนสนิทหรือผู้มารับบริการอยู่บ่อย ๆ บางครั้งเราอาจจะใช้ความเห็นส่วนตัว ดุลยพินิจที่เข้าข้างตัวเอง ตอบโต้ปัญหาหรือความคัดแย้งเหล่านั้น จนถึงขนาดก่อศัตรู หรือเพิ่มความหมาดหมาง เครียดแค้นให้ลุกลามมากขึ้นก็อาจเป็นได้ ดังนั้นการที่จะเป็นผู้รับฟังปัญหาที่ดีมีประสิทธิภาพได้นั้น ก็ต้องมีการเรียนรู้วิธีการรับฟังที่เหมาะสมคือ

  1. จะรับฟังปัญหาอย่างไรไม่ให้ตัวเราเครียด หดหู่ใจ ไม่สบายใจ
       -  ต้องอยู่ในอารมณ์ที่ผ่อนคลาย ไม่มีความวิตกกังวลใจพร้อมที่จะรับฟังปัญหาผู้อื่น   
       -  ขณะรับฟังปัญหา ต้องรับฟังอย่างสงบ ไม่สร้างอารมณ์ร่วมไปกับผู้เล่า ต้องฟังอย่างเข้าใจ และรู้               ถึงความรู้สึกและอารมณ์ของเขา แต่อย่าให้มีอารมณ์ทุกข์โศก โกรธแค้น ร่วมกับผู้เล่า หรือรับเอา              ความรู้สึกเข้ามาไว้กับตัวเองรับฟังอย่างมีสติมั่นคง ก็จะทำให้มองปัญหาได้ชัดแจ้งกว่า และ                     สามารถชี้ให้เห็นถึงเหตุผล และแนวทางในการแก้ไขได้ดีกว่า  
       -  ไม่ควรรับฟังปัญหานั้น นานเกินไป จะทำให้เราเกิดความเครียดได้ง่าย ควรหาวิธีละมุนละม่อม เพื่อ           ให้ยุติการเล่าเมื่อใช้ระยะเวลานานเกินไป  

2. จะรับฟังปัญหาอย่างไรไม่ให้เกิดศัตรู หรือเพิ่มความบาดหมางเคียดแค้น  
       - ต้องรับฟังอย่างเป็นกลาง รู้จักยับยั้งชั่งใจ คล้อยตามหรือส่งเสริมผู้เล่า และไม่กล่าวทับถมบุคคลที่           สาม โดยระลึกไว้เสมอว่า ไม่มีใครสามารถถ่ายทอดคำพูดของผู้อื่นไว้ทุกคำพูด โดยไม่ผิดเพี้ยน               ไม่มีใครตีความหมายหรือแปลเจตนารมย์ของผู้พูดได้อย่างถูกต้องโดยไม่ผิดเลย ทุกคนย่อมเข้า             ข้างตัวเองเสมอ บางครั้งมักต่อเติมเสริมแต่งพูดรุนแรง เกินความจริง เพราะอคติหรือเกิดอารมณ์               ดังนั้นถ้าไม่อยากให้ผู้เล่าเกิดอคติต่อคู่กรณีมากขึ้น ไม่ทำให้เราเองเกิดความโกรธแค้นกับผู้ที่ถูก             ว่ากล่าว ซึ่งอาจเป็นปัญหาสามเส้า หรือเกิดให้เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวกก่อศัตรูขึ้นมาได้จึงควร             จะรับฟังปัญหาอย่างเป็นกลาง ด้วยการ 
                1.  เป็นผู้ฟังที่ดี เพื่ออีกฝ่ายได้ระบาย และปลดปล่อยอารมณ์คับแค้นออกมา  
                2.  แสดงท่าทีและใช้คำพูดปลอบโยน ให้อารมณ์งบลงสัมผัสอย่างอ่อนโยนด้วยความเข้าใจ                          จะช่วยให้จิตใจของผู้เล่าดีขึ้นบ้าง เช่น “ ใจเย็นๆ ” “ เดี๋ยวค่อย ๆ พูด ค่อย ๆ จากันก่อน ”  
                3.  ใช้คำพูดในทางบวกเพื่อลดอคติ เช่น “ เขาคงไม่เจตนาทำแบบนั้น 
                      “ เขาพูดล้อเล่นหรือเปล่า ”  
                 4. ชี้แนวทางแก้ปัญหาด้วยความจริง เช่น การพูดปรับความเข้าใจกัน “ ลืมมันเสียแล้วเริ่มต้น                        ใหม่ ”   ถ้าปฏิบัติได้ดังกล่าวมานี้ ท่านก็น่าจะเป็นผู้ที่สามารถรับฟังปัญหาของผู้อื่น และ                            ชี้แนะแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแก่เขาเหล่านั้น  






     
  ธาริณี มาลัยมาตร์ พยาบาลวิชาชีพ  
   แหล่งที่มา : บทความสุขภาพจิต โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

การทำงานของสมอง

            การทำงานของสมองนั้น เป็นการทำงานของเซลล์สมองหนึ่งแสนล้านเซลล์ ใช้ระบบสารเคมี ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า โดยเซลล์สมองตัวที่หนึ่งจะไปกระตุ้นการทำงานของเซลล์สมองตัวที่สอง และ เซลล์สมองตัวที่สาม และต่อไปเรื่อยๆ มีการส่งต่อสัญญาณประสาทระหว่างกันที่จุดซิแนปส์ การส่งสัญญาณประสาทที่จุดนี้จะอยู่ในรูปสารเคมี เรียกว่า สารส่งสัญญาณสมอง ซึ่งสารนี้แบ่งตามหน้าที่ได้ 2 ส่วน คือ การกระตุ้น และการยับยั้ง นอกจากนี้เซลล์สมองยังมีไมอิลินช่วยในการเร่งสัญญาณประสาท และมีเซลล์เกลียเป็นเซลล์ค้ำจุล
            พัฒนาการของสมองในช่วง 2 ปีแรก มีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุด และลดลงบ้างในวัย 6-10 ปี และหลังจากนั้นจะปรับเปลี่ยนเล็กน้อยจนถึงวัยชรา ใยประสาทยังคงเกิดขึ้นแต่น้อยลงมาก ขึ้นอยู่กับการกระตุ้นและการใช้งานสมอง หากเรามีการบริหารสมองที่ดี ก็จะทำให้สมองมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น ถ้าหากเซลล์สมองไม่ได้ถูกกระตุ้นหรือไม่ถูกใช้งานในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม เซลล์สมอง ส่วนนั้นก็จะถูกริดทอนการเชื่อมต่อ ทำให้เราสูญเสียความทรงจำ และไม่เกิดการเรียนรู้ และการทำงานของเซลล์สมองกลุ่มนั้นไป ซีรีบรั่มแบ่งออกเป็นสมองซีกซ้ายและซีกขวา ซึ่งแต่ละซีกจะมีหน้าที่ แตกต่างกัน
            หลักในการพัฒนาสมอง นอกจากจะมาจากธรรมชาติที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษหรือพันธุกรรม ที่ได้มาจากพ่อกับแม่มาแต่กำเนิดแล้ว แต่สภาพแวดล้อมต่างๆ ก็มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการทางสมอง เช่น อาหาร อารมณ์ การฝึกฝนใช้สมอง เป็นต้น กลไกการเรียนรู้ของสมองค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อน อย่างไรก็ดี ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทำงาน และธรรมชาติในการเรียนรู้ของสมองนี้  สามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อสร้างศักยภาพสูงสุดของมนุษย์หรือผู้เรียน

วันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ครั้งแรกของฉัน

ฝึกงานที่โรงพยาบาลครั้งแรก
สอบแล็ปกริ้งครั้งแรก
บันทึกความดี
ละหมาด,  ,ช่วยทำงานบ้าน(ล้างจาน,ซักผ้า,กวาดบ้าน)
,มาโรงเรียนตรงต่อเวลา,แต่งตัวถูกระเบียบ,ให้เกียรติคนอื่นๆ