สังคมศึกษา

อุปสงค์-อุปทาน

     อุปสงค์ (Demand)
            หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้บริโภค ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง            โดยมีอำนาจซื้อหรือมีความสามารถในการตอบสนองความต้องการนั้นๆ

            เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น ความต้องการหรืออุปสงค์ลดน้อยลง (P>,D<) แต่ในทางกลับกัน
            เมื่อราคาสินค้าถูกลง ความต้องการหรืออุปสงค์ก็เพิ่มมากขึ้น(P<,D>)

 ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์
–      ราคาของสินค้า เมื่อราคาแพงขึ้น ความต้องการจะลดลง (P>,D<)
–      รายได้ของผู้บริโภค ในกรณีที่เป็นสินค้าปกติ (Normal Goods) เมื่อผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ก็          บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตามหากรายได้เพิ่มขึ้น แล้วผู้บริโภคซื้อสินค้านั้นลดลง แสดงว่าสินค้านั้น            เป็นสินค้าด้อยคุณภาพ (Inferior Goods) เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งอันที่จริงอาจจะไม่ได้หมายถึง            คุณภาพของสินค้าจริงๆ ว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไม่ดี แต่เป็นเรื่องของการรับรู้ของผู้บริโภคแต่ละคนที่            อาจมีมุมมองแตกต่างกันไป เช่น ถ้ารวยขึ้นก็ไม่อยากกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาจหันไปกินอย่างอื่น            เช่น    ไก่ทอด แทน เป็นต้น
–     ราคาสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็น 2 ประเภท สินค้าทดแทนกัน (Substitute Good) เช่น เมื่อหมู            ราคาแพงขึ้น ผู้บริโภคหมูลดลง (P>,D<) สินค้าที่ใช้ประกอบกัน (Complementary Good) เช่น เมื่อ          ราคาน้ำมันแพงขึ้น ความต้องการซื้อรถยนต์ก็จะลดลง (P>,D<)
–     รสนิยมของผู้บริโภค เช่น หากรสนิยมในการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้ความต้องการสินค้าที่          เคยใช้อยู่เปลี่ยนแปลงไป
 –    การคาดการณ์รายได้ในอนาคต เช่น หากผู้บริโภครู้ว่าจะได้มีการปรับขึ้นเงินเดือน ก็อาจจะบริโภค            ล่วงหน้าไปก่อน ทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าสูงขึ้น
–     ปัจจัยอื่นๆ เช่น ฤดูกาล จำนวนประชากร ฯลฯ

  กฎของอุปสงค์ (Law of Demand)
           หมายถึง กฎที่ว่าด้วยระบบความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้ากับ  ปริมาณความต้องการซื้อสินค้านั้น        ซึ่งกฎนี้กล่าวไว้ว่า “ราคาและปริมาณความต้องการซื้อสินค้าจะมีความสัมพันธ์กันในทิศตรงกันข้าม”

อุปทาน (Supply) 
            ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้า ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง ในเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยกำหนดให้สิ่งอื่นๆคงที่
 
          เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น ความต้องการหรืออุปสงค์ก็มากขึ้น (P>,S>) แต่ในทางกลับกัน
          เมื่อราคาสินค้าถูกลง ความต้องการหรืออุปสงค์ก็เพิ่มลดลง(P<,S<)

 ปัจจัยที่กำหนดอุปทาน

–     ราคาของสินค้า เมื่อราคาแพงขึ้น ความต้องการขายเพิ่มขึ้น (P>,S>)
–      ราคาของปัจจัยการผลิตหรือต้นทุนการผลิต เช่น หากต้นทุนค่าขนส่งแพงขึ้นเพราะราคาน้ำมันแพง         ขึ้น แต่ราคาสิ้นค้าที่นำไปวางขายไม่เปลี่ยนแปลง จะทำให้ผู้ผลิตอยากขายสินค้าในปริมาณที่น้อย           ลง ได้กำไรน้อยลง
–      ราคาสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรณีที่ราคาสินค้าอื่นแพงขึ้น อาจมีผลทำให้อุปทานของสินค้าที่             ผลิตอยู่ลดลงตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น เมื่อราคาข้าวโพดแพงขึ้น คนที่เคยปลูกมันสำปะหลังอยู่               อาจหันไปปลูกข้าวโพดแทน และลดการปลูกมันสำปะหลังลง ซึ่งส่งผลทำให้อุปทานของมัน                   สำปะหลังสูงขึ้น ขณะที่อุปทานของข้าวโพดลดลง
 –     เทคโนโลยีในการผลิตสินค้า เช่น หากมีการคิดค้นเทคโนโลยีในการผลิตให้ดีขึ้น ทำให้ผลิตได้               ปริมาณสินค้ามากขึ้นด้วยต้นทุนเท่าเดิม จะทำให้ปริมาณการเสนอขายสินค้าเพิ่มขึ้นได้ – การคาด           การณ์ในอนาคต เช่น หากผู้ผลิตหรือผู้ขายคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว ก็เสนอขายสินค้าใน                     ปริมาณที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น
 –     ปัจจัยอื่น เช่น ฤดูกาล ภาษีและเงินอุดหนุน จำนวนผู้ขาย และโครงสร้างตลาดสินค้า

  กฎของอุปทาน (Law of Supply)
           หมายถึง กฎที่ว่าด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้ากับปริมาณการเสนอขายสินค้า ซึ่งกฎนี้      กล่าวไว้ว่า “ปริมาณความต้องการขายสินค้าและราคาสินค้ามีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน”

   ภาวะดุลยภาพ (Equilibrium)
            หมายถึง ระดับราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายเห็นพ้องต้องกัน หรือระดับราคาที่อุปสงค์เท่ากับอุปทาน              หรือเส้นอุปสงค์ตัดกับเส้นอุปทาน จากรูป ระดับดุลยภาพที่ความต้องการซื้อและความต้องการขาย          เท่ากันพอดี (เส้น D ตัดกับเส้น S ทีจุด E) โดย ณ ราคาสินค้า 60 บาทต่อหน่วย ผู้ซื้อและผู้ขายมี              ความต้องการสินค้าที่ 120 หน่วย

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น